ขั้นตอนการดำเนินการแจ้งออกแรงงานต่างด้าว ออนไลน์
แจ้งออกแรงงานต่างด้าว ออนไลน์ ดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้อง
- นายจ้างที่ หาแรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้เงื่อนไขของ MOU (Memorandum of Understanding) จะมีระยะเวลาพำนักอาศัยชั่วคราวได้ 2 ปี และ 4 ปี ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
- ในกรณีที่นายจ้างและแรงงานต้องแยกทางกันด้วยเหตุอันสมควร นายจ้างสามารถ แจ้งออกแรงงานต่างด้าว ออนไลน์ ได้ โดยไม่ต้องดำเนินการผ่านสำนักงานจัดหางานประจำจังหวัดหรือเขตพื้นที่กรุงเทพฯ
กดเข้าไปหน้าเว็บไซต์ https://eservice.doe.go.th/m/ ลงทะเบียนให้เรียบร้อย (กรณียังไม่เคยดำเนินการใด ๆ มาก่อน) จากนั้นล็อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อเตรียมแจ้งลาออกได้เลย
หลังเข้ามายังหน้าจอหลัก คลิกเลือกที่ “แจ้งคนต่างด้าวออกจากงาน”
ระบบจะทำการลิสต์รายชื่อแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างคนดังกล่าวดูแลและให้ทำงานทั้งหมดออกมาครบถ้วน เมื่อต้องการแจ้งออกแรงงานคนไหนก็คลิกปุ่ม “แจ้งออก” สีแดงด้านขวามือ
ระบบจะระบุข้อมูลทั้งหมดของแรงงานต่างด้าวคนดังกล่าว ซึ่งตรงนี้นายจ้างต้องระบุรายละเอียดเพิ่มเติมด้วย ได้แก่ วันที่ออกจากงาน สาเหตุการออกจากงาน เสร็จแล้วให้อัปโหลดเอกสารตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งระบบสามารถรองรับได้ทั้งไฟล์ JPG, PNG, GIF และ PDF แต่ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 256 Kb จากนั้นคลิกปุ่ม “ยืนยันการแจ้งออก” เพื่อยืนยันข้อมูลอีกครั้ง
ระบบจะส่งข้อมูลเรื่องการแจ้งออกแรงงานต่างด้าวของนายจ้างไปยังเจ้าหน้าที่ของสำนักจัดหางานในพื้นที่ของตนเอง นายจ้างรออนุมัติอย่างเป็นทางการ เท่านี้ก็เป็นอันสิ้นสุดในฐานะของการเป็นนายจ้างและลูกจ้างแล้ว
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับแจ้งออกแรงงานต่างด้าว ออนไลน์
1. เอกสารใบ้แจ้งยกเลิกสัญญาการอนุญาตทำงาน โดยนายจ้างต้องทำการกรอกข้อมูลพร้อมผู้ลงนามชื่อของตนเองให้เรียบร้อย มีตัวจริงและสำเนา 2 ฉบับ
2. ใบอนุญาตทำงานฉบับจริง (ยกเว้นหากไม่สามารถติดต่อคนต่างด้าวได้ ต้องแนบสำเนาใบอนุญาตทำงานแทน ถ้ามี)
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนสถานประกอบการ เช่น หนังสือรับรองนิติบุคคลบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ เป็นต้น
4. สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง หากนายจ้างเป็นคนไทย หรือสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง หากนายจ้างเป็นคนต่างด้าว
5. หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง ทำการติดอากรแสตมป์ 30 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีนายจ้างไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง)